ทดสอบแคร็ก WhereIsIP


DownloadVDO

ทดสอบแคร็ก Word to PDF Converter

Download VDO

ทดสอบแคร็ก EasyVideotoAudioConverter


Download VDO

สร้างแผ่น Windows ในแบบฉบับของคุณเองด้วย n lite













ที่มา:https://www.slideshare.net/bannk131227/windows-n-lite

GHOST


คู่มือการพิมพ์หนังสือราชการโดยใช้ Microsoft Office Word

คู่มือการพิมพ์หนังสือราชการโดยใช้ Microsoft Office Word

การพิมพ์หนังสือราชการ
โดยใช้ Microsoft office word
………………………………..
                    การพิมพ์หนังสือราชการภาษาไทย การจัดทำกระดาษตราครุฑและกระดาษบันทึกข้อความโดยใช้โปรแกรมการพิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้จัดทำให้ถูกต้องตามแบบของกระดาษตราครุฑ (แบบที่ 28) และแบบของกระดาษบันทึกข้อความ (แบบที่ 29) ท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ  พ.ศ.2526
          1. การตั้งค่าในโปรมแกรมการพิมพ์
                   1.1 การตั้งระยะขอบกระดาษ
                             - ขอบซ้าย 3 เซนติเมตร
                             - ขอบขวา  2 เซนติเมตร
                             - ขอบบน 2.5 เซนติเมตร
                             - ขอบล่างประมาณ 2 เซนติเมตร
                   1.2 การตั้งระยะบรรทัด ให้ใช้ค่าระยะบรรทัดปกติคือ 1 เท่า หรือ Single
                         ในกรณีที่มีความจำเป็น อาจปรับระยะเป็น 1.05 พอยท์ หรือ 1.1 พอยท์ ได้ตามความเหมาะสม โดยให้คำนึงถึงความสวยงามและรูปแบบหนังสือเป็นสำคัญ (ระยะ 1.05 พอยท์ หรือ 1.1 พอยท์ จะสวยงาม อ่านง่ายและสบายตากว่าระยะ 1 เท่า หรือ Single)
                   1.3 การกั้นค่าไม้บรรทัดระยะการพิมพ์ อยู่ระหว่าง 0-16 เซนติเมตร (หน้ากระดาษ A4 เมื่อตั้งระยะขอบซ้าย 3 เซนติเมตร ขอบขวา 2 เซนติเมตร จะเหลือพื้นที่สำหรับการพิมพ์ มีความกว่าง 16 เซนติเมตร)
          2. ขนาดตราครุฑ
                   2.1 ตราครุฑ 3 เซนตเมตร ใช้สำหรับการจัดทำกระดาษตราครุฑ
                         ตราครุสูง 1.5 เซนติเมตร ใช้สำหรับการจัดทำกระดาษบันทึกข้อความ
                   2.2 การวางตราครุฑให้วางห่างจากขอบกระดาษบนประมาณ 2.5 เซนติเมตร (เผื่อพื้นที่สำหรับประทับตราหนังสือ และการลงทะเบียนรับทางระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์)
          3. การพิมพ์
                   3.1 การจัดทำหนังสือราชการตามแบบท้ายระเบียบฯ จำนวน 11 แบบ (ได้แก่ หนังสือภายนอก หนังสือภายใน หนังสือประทับตรา คำสั่ง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ แถลงการณ์ ข่าว หนังสือรับรอง และ รายงานการประชุม ) ให้ใช้รูปแบบตัวพิมพ์ (ฟอนต์) ไทยสารบรรณ (Th Sarabun Psk) ขนาด 16 พอยท์
                   3.2 การพิมพ์หนังสือที่มีข้อความมากกว่า 1 หน้า หน้าต่อไปให้ใช้กระดาษที่มีคุณภาเช่นเดียวกันหรือใกล้เคียงกับแผ่นแรก 
                   3.3 การพิมพ์หัวข้อต่าง ๆ ของหนังสือแต่ละชนิด ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ
                   3.4 ก่อนเริ่มพิมพ์ข้อความ ให้ (Click File > ตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page Setup) ก่อนเสมอ               เพื่อเลือกขนาดกระดาษที่จะใช้พิมพ์ ตั้งระยะขอบหน้ากระดาษ และการวางแนวกระดาษ
                   3.5 จำนวนบรรทัดการพิมพ์หนังสือราชการในแต่ละหน้าให้เป็นไปตามความเหมาะสมกับจำนวนข้อความ และความสวยงาม
                   แบบมาตรฐาตการพิมพ์หนังสือราชการภาษาไทยด้วยโปรแกรมการพิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์นี้ ประกอบด้วยแบบมาตรฐานการพิมพ์ พร้อมคำแนะนำประกอบการพิมพ์หนังสือราชการชนิดต่าง ๆ ซึ่งใช้ในการปฏิบัติราชการใน ทร. รวม 9 ชนิด ดังนี้
                   1. หนังสือภายนอก
                   2. หนังสือภายในที่ใช้กระดาษบันทึกข้อความ ส่วนหนังสือภายในที่ใช้กระตราครุฑให้จัดพิมพ์ตามแบบของหนังสือภายนอกโดยอนุโลม
                   3. บันทึก
                   4. หนังสือประทับตรา
                   5. คำสั่ง
                      5.1  คำสั่ง กรณีหัวหน้าส่วนราชการที่ออกคำสั่งให้เป็นผู้ลงชื่อ
                      5.2  คำสั่ง กรณีคับคำสั่ง
                   6. ระเบียบ
                   7. ประกาศ
                   8. หนังสือรับรอง
                   9. รายงานการประชุม


การพิมพ์หนังสือราชการ  โดยใช้โปรแกรม Microsoft word
ขั้นตอนการปฏิบัติ
1.  หลังจากติดตั้งโปรแกรม Microsoft Word และจัดเตรียมโครงร่างงานที่จะทำการบันทึก
2.  เข้าโปรแกรม Microsoft Word  โดยคลิกที่ปุ่ม Start  เลือก Programs จากนั้นเลื่อนเมาส์ไปที่Microsoft Office แล้วคลิกที่ Microsoft Word
  -  จากนั้นจะปรากฏหน้าจอของ Microsoft Word  ขึ้นมา  ดังรูป

3.  ตั้งกั้นหน้าและก้นหลังของเอกสาร
3.1 คลิกที่ปุ่มเค้าโครงหน้ากระดาษ เลือกระยะขอบแบบกำหนดเอง
       - ตั้งค่าหน้ากระดาษด้านบน  2.5  เซนติเมตร
       -  ตั้งค่าหน้ากระดาษด้านล่าง  2  เซนติเมตร 
       -  ตั้งค่าหน้ากระดาษด้านซ้าย  3  เซนติเมตร
       -  ตั้งค่าหน้ากระดาษด้านขวา  2  เซนติเมตร
แล้วกดปุ่ม ตกลง

4.  การสร้างหัวกระดาษบันทึกข้อความหนังสือราชการภายใน
                    4.1  คลิกไปที่ตาราง เลือก แทรก เลือก วาดตาราง

ตารางที่ 1 จำนวนคอลัมน์ 2 คอลัมน์  จำนวนแถว 1 แถว แล้วกดปุ่มตกลง เพื่อนำครุฑที่มีขนาดกว้างและยาว1.5 เซนติเมตร ที่ทำการสแกนเก็บไว้ใน My Document นำเข้ามาวางไว้   ในคอลัมน์ที่ 1
-  การนำครุฑเข้ามาใส่ในคอลัมน์ที่ 1 โดยการคลิกที่ปุ่มแทรก เลือกรูปภาพ เลือกภาพจาก แฟ้ม  เลือก  ภาพที่เก็บไว้ใน My Document  เป็นภาพครุฑ เลือก แทรก
-  ใส่คำว่า บันทึกข้อความ”  ด้วยตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 29 ตัวหนา
ตารางที่ 2  จำนวนคอลัมน์ 2 คอลัมน์  จำนวนแถว 1 แถว  แล้วกดปุ่มตกลง
                      -  คอลัมน์ที่ 1 ใส่คำว่า ส่วนราชการ  ด้วยตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 18  ตัวหนา
                      -  คอลัมน์ที่ 2  ใส่ กอง/สำนัก/เบอร์ติดต่อภายใน/ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ตารางที่ 3  จำนวนคอลัมน์ 4 คอลัมน์ จำนวนแถว 1 แถว  แล้วกดปุ่มตกลง
                      -  คอลัมน์ที่ 1 ใส่คำว่า ที่  ด้วยตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 18 ตัวหนา
                      -  คอลัมน์ที่ 2  ใส่ ตัวย่อของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (คือ กษ)  ตามด้วยเลขที่ของกองด้วยตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 16 ตัวปกติ
                      -  คอลัมน์ที่ 3 ใส่คำว่า วันที่  ด้วยตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 18 ตัวหนา
                      -  คอลัมน์ที่ 4  ใส่ เดือน/ปี ด้วยตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 16 ตัวปกติ
ตารางที่ 4  จำนวนคอลัมน์ 2 คอลัมน์  จำนวนแถว 1 แถว  แล้วกดปุ่มตกลง
-  คอลัมน์ที่ 1 ใส่คำว่า เรื่อง  ด้วยตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 18 ตัวหนา
-  คอลัมน์ที่ 2  ใส่ ชื่อเรื่อง ด้วยตัวอักษร TH Sarabun New ขนาด 16 ตัวปกติ

4.2  การปรับความกว้างของคอลัมน์ ในตาราง
                      -  โดยการนำเมาส์ไปชี้ที่เส้นทางด้านขวาของคอลัมน์ ที่ต้องการปรับความกว้าง  (ให้ตัวชี้ เมาส์เปลี่ยนเป็นลูกศรสองหัว)  แล้วกดเมาส์ (ปุ่มด้านซ้าย) ค้างไว้
                      -  เมื่อลากเมาส์ไปทางซ้ายเพื่อลดขนาด หรือลากไปทางขวาเพื่อเพิ่มขนาดของคอลัมน์ตามต้องการ

4.3  การปรับความสูงของแถว ในตาราง
                      -  โดยการนำเมาส์ไปชี้ที่เส้นทางด้านล่างหรือบนของแถว (ให้ตัวชี้เมาส์เปลี่ยนเป็นลูกศรสองหัว) แล้วกดเมาส์ (ปุ่มด้านซ้าย) ค้างไว้
                      -  เมื่อลากเมาส์ขึ้นบนเพื่อลดความสูง หรือลากลงล่างเพื่อเพิ่มความสูงของแถว

5.  ปัดหนึ่งบิดสอง  พิมพ์เรียน
                    -  การปิดหนึ่งบิดสองโดยการคลิกที่ปุ่ม รูปแบบ เลือก ย่อหน้า เลือก ระยะห่าง เลือก ก่อนหน้า 12 พ.
6.  ปัดหนึ่งบิดสอง  พิมพ์เนื้อเรื่อง
7.  ย่อหน้าทุกครั้ง ต้องห่างจากขอบด้านขวา 13 ตัวอักษร
8.  พิมพ์เนื้อเรื่องในย่อหน้าที่หนึ่ง  และย่อหน้าที่สองเสร็จแล้ว  ปัดหนึ่งบิดสอง  พิมพ์ย่อหน้าสุดท้าย
9.  เมื่อพิมพ์เนื้อเรื่องเสร็จสิ้น ทำการบันทึก  (Save) ข้อมูล
                    -  สำหรับการบันทึกเอกสารที่มีอยู่แล้ว  คลิกที่ปุ่ม แฟ้ม เลือก บันทึก
                    -  สำหรับการบันทึกเอกสารที่ยังไม่มีที่เก็บ  คลิกที่ปุ่ม  แฟ้ม  เลือก  บันทึกเป็น 
                    -  ในกล่อง ชื่อแฟ้ม  ให้พิมพ์ชื่อ  แฟ้มใหม่สำหรับเอกสาร
                    -  ในกล่อง  เก็บเป็นชนิด ให้คลิกรูปแบบแฟ้มที่เข้ากันได้กับโปรแกรมอื่น ได้แก่ Word Document
                -  คลิกปุ่ม บันทึก  เพื่อบันทึก (Save) ข้อมูล
10.  การพิมพ์เอกสารอองทางเครื่องพิมพ์
-    เมื่อทำการบันทึกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะทำการพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์
-    คลิกที่ปุ่ม แฟ้ม  เลือก  พิมพ์ 
-    คลิกเลือกชื่อเครื่องพิมพ์ที่ถูกต้อง
-    คลิกเลือก  ในช่องของหน้า  คือ ทั้งหมด หน้าปัจจุบัน หรือระบุเลขหน้าที่ต้องการพิมพ์ก็ได้
-    คลิกเพื่อกำหนดคุณสมบัติให้กับเครื่องพิมพ์
-    ถ้าต้องการพิมพ์เอกสารออกมามากกว่าหนึ่ง ก็ให้ป้อนจำนวนชุดของเอกสารลงไปในช่องจำนวนสำเนา

                 -  คลิกที่ปุ่ม  ตกลง  นำเอกสารที่พิมพ์ออกมาทำการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง  แล้วนำเสนอผู้บังคับบัญชาต่อไป
12.  ออกจากโปรแกรมการใช้งาน


คำแนะนำประกอบการพิมพ์หนังสือภายนอก

1. การตั้งค่ำในโปรแกรมการพิมพ์
          1.1 การตั้งระยะขอบหน้ากระดาษ
               - ขอบซ้าย 3 เซนติเมตร ขอบขวา 2 เซนติเมตร
               - ขอบบน 2.5 เซนติเมตร ขอบล่างประมาณ 2 เซ้นติเมตร
          1.2 การตั้งระยะบรรทัดให้ใช้ค่าระยะบรรทัดปกติ คือ 1 เท่า หรือ Single
          1.3 การกั้นค่าไม้บรรทัดระยะการพิมพ์ อยู่ระหว่าง 0-16 เซนติเมตร
2. ขนาดตราครุฑ
          2.1 ตราครุฑสูง 3 เซนติเมตร
          2.2 การวางตราครุฑ ให้วางจากขอบกระดาษบนประมาณ 2.5 เซนติเมตร (ชิดขอบบน)
3. การพิมพ์
          3.1 ใช้รูปแบบตัวพิมพ์ไทยสารบรรณ (ฟอนต์ TH Sarabun PSK) ขนาด 16 พอยท์
          3.2 การพิมพ์ “ที่” และ ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ” ให้พิมพ์ตรงกับแนวเท้าของตราครุฑ
          3.3 การพิมพ์ชื่อเดือนให้ตัวอักษรตัวแรกอยู่ตรงกับแนวเท้าขาวของครุฑ
          3.4 การพิมพ์เรื่อง คำขึ้นต้น อ้างถึง สิ่งที่ส่งมาด้วย ให้มีระยะบรรทัดระหว่างกันเท่ากับระยะบรรทัดปกติ และเพิ่มค่าก่อนหน้าอีก 6 พอยท์ (1 Enter + Before 6 pt)
          3.5 การย่อหน้าข้อความภาคเหตุ ภาคความประสงค์ และภาคสรุป ให้มีระยะย่อหน้าตามค่าไม้บรรทัดระยะการพิมพ์ เท่ากับ 2.5 เซนติเมตร
          3.6 การพิมพ์คำลงท้าย ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกอยู่ตรงแนวกึ่งกลางของตราครุฑ และห่างจากบรรทัดสุดท้ายของภาคสรุปเท่ากับระยะบรรทัดปกติ และเพิ่มค่าก่อนหน้าอีก 12 พอยท์                                       (1 Enter +Before 12 pt)
          3.7 การพิมพ์ยศของผู้ลงชื่อ ให้อยู่หน้าแนวกึ่งกลางของตราครุฑ กับให้เว้นบรรทัดการพิมพ์ 2 บรรทัดปกติ และเพิ่มค่าก่อนหน้าอีก 6 พอยท์ ( 2 Enter + Before 6 pt) จากคำลงท้าย
          3.8 การพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของหนังสือ (ชื่อ สกุล) และตำแหน่ง ให้ถือคำลงท้ายเป็นหลักโดยฝให้อยู่กึ่งกลางซึ่งกันและกัน ในกรณีที่ต้องพิมพ์ตำแหน่ง 2 บรรทัด ระหว่างบรรทัดให้ใช้ระยะEnter
          3.9 ระยะระหว่างตำแหน่ง กับส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ให้พิจารณาตามความเหมาะสมของพื้นที่ที่เหลืออยู่ในหน้ากระดาษนั้น โดยสามารถเลือกใช้ระยะบรรทัด 1 Enter หรือ 1 Enter + Before 6 pt หรือ 2 Enter ได้ตามความเหมาะสม


คําแนะนําประกอบการพิมพ์หนังสือภายใน 
(แบบใช้กระดาษบันทึกข้อความ)

          1. การตั้งค่าในโปรแกรมการพิมพ์
                   1.1 การตั้งระยะขอบหน้ากระดาษ
                             - ขอบซ้าย ๓ เซนติเมตร ขอบขวา ๒ เซนติเมตร
                             - ขอบบน ๒.๕ เซนติเมตร ขอบล่างประมาณ ๒ เซนติเมตร
                   1.2. การตั้งระยะบรรทัด ให้ใช้คาระยะบรรทัดปกติ คือ ๑ เท่า หรือ Single
                    1.3 การกั้นค่าไม้บรรทัดระยะการพิมพ์ อยู่ระหว่าง ๐ – ๑๖ เซนติเมตร
          2. ขนาดตราครุฑ
                   2.1 ตราครุฑสูง ๑.๕ เซนติเมตร
                   2.2 การวางตราครุฑ ให้วางห่างจากขอบกระดาษบนประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร                                            (ชิดขอบบนด้านซ้าย)
          3. การพิมพ์
                   3.1 ใช้รูปแบบตัวพิมพ์ไทยสารบรรณ (ฟอนต์ TH Sarabun PSK) ขนาด ๑๖ พอยท์
.                   3.2 การพิมพ์ส่วนหัวของแบบบันทึกข้อความ
                             3.2.1 คําว่า บันทึกข้อความ” พิมพ์ด้วยอักษรตัวหนาขนาด ๒๙ พอยท์ และปรับค่าระยะบรรทัดจาก ๑ เท่าเป็นค่าแน่นอน (Exactly) ๓๕ พอยท์
                             3.2.2 คําว่า ส่วนราชการ วันที่ เรื่อง” พิมพ์ด้วยอักษรตัวหนาขนาด ๒๐ พอยท์
                             3.2.3 การพิมพ์คําว่า วันที” ให้พมพ์ตรงกับตัวอักษร และให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกของชื่อเดือน ตรงกับแนวหลังของตัวอักษร ” ของคําว่า บันทึกข้อความ” (ดูแบบฟอร์มประกอบ)
                            3.2.4 ใช้จุดไข่ปลาแสดงเส้นบรรทัดที่เป็นช่องว่างหลังคํา ส่วนราชการ ที่ วันที่                และเรื่อง
                   3.3 การพิมพ์คาขึ้นต้น ให้มระยะบรรทัดห่างจากเรื่องเท่ากับระยะบรรทัดปกติและเพิ่มค่าก่อนหน้าอีก ๖ พอยท์ (1 Enter + Before 6 pt)
                   3.4 การย่อหน้าข้อความ ให้มีระยะย่อหน้าตามค่าไม้บรรทัดระยะการพิมพ์ เท่ากับ                  ๒.๕ เซนติเมตร
                   3.5 การพิมพ์ยศของผู้ลงชื่อ ให้พิมพ์อักษรตัวแรกอยู่ในแนวกึ่งกลางกระดาษ และให้เว้นระยะบรรทัดการพิมพ์ ๒ บรรทัดปกติ (2 Enter) จากบรรทัดสุดท้ายของข้อความ และให้พิมพ์ ร.น. ไว้ท้ายลายมือชื่อด้วย (เนื่องจากผู้ลงชื่อเป็นนายทหารเรือชั้นสัญญาบัตร)
          3.6 การพิมพ์ชื่อเต็มในวงเล็บ (ชื่อ สกุล) และการพิมพ์ตําแหน่ง ให้พิมพ์อยู่กงกลางซึ่งกันและกันในกรณีที่ต้องพิมพ์ตําแหน่ง ๒ บรรทัด ระหว่างบรรทัดให้ใช้ระยะ 1 Enter



คําแนะนําประกอบการพิมพ์คําสั่ง

          1. การตั้งค่าในโปรแกรมการพิมพ์
                   1.1 การตั้งระยะขอบหน้ากระดาษ
                             - ขอบซ้าย ๓ เซนติเมตร ขอบขวา ๒ เซนติเมตร
                             - ขอบบน ๒.๕ เซนติเมตร ขอบล่างประมาณ ๒ เซนติเมตร
                   1.2 การตั้งระยะบรรทัด ให้ใช้คาระยะบรรทัดปกติ คือ ๑ เท่า หรือ Single
                   1.3 การกั้นค่าไม้บรรทัดระยะการพิมพ์ อยู่ระหว่าง ๐ – ๑๖ เซนติเมตร
          2. ขนาดตราครุฑ
                   2.1 ตราครุฑสูง ๓ เซนติเมตร
                   2.2 การวางตราครุฑ ให้วางห่างจากขอบกระดาษบนประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร (ชิดขอบบน)
          3. การพิมพ์
                   3.1 ใช้รูปแบบตัวพิมพ์ไทยสารบรรณ (ฟอนต์ TH Sarabun PSK) ขนาด ๑๖ พอยท์
                   3.2 การย่อหน้าข้อความในระเบียบ ให้มีระยะย่อหน้าตามค่าไม้บรรทัดระยะการพิมพ์เท่ากับ ๒.๕ เซนติเมตร
                   3.3 การพิมพ์ขอความ สั่ง ณ วันที่ เดือน พ.ศ. ....” ให้มีระยะย่อหน้าตามค่าไม้บรรทัดระยะการพิมพ์ เท่ากับ ๕ เซนติเมตร (เพิ่มระยะจากย่อหน้าข้อความ ๑ เท่า)
                   3.4 การพิมพ์ยศของผู้ลงชื่อ ให้พิมพ์อักษรตัวแรกอยู่ในแนวกึ่งกลางของตราครุฑ โดยให้เว้นบรรทัดการพิมพ์ ๒ บรรทัดปกติ และเพิ่มค่าก่อนหน้าอีก ๖ พอยท์ (2 Enter + Before 6 pt)                จากสั่ง ณ วันที่
                   3.5 การพิมพ์ชื่อเต็ม (ชื่อ สกุล) และตําแหน่ง ให้อยู่กึ่งกลางซึ่งกันและกัน ในกรณีที่ต้องพิมพ์ตําแหน่ง ๒ บรรทัด ระหว่างบรรทัดให้ใช้ระยะ 1 Enter
                   3.6 กรณีรับคําสั่ง
                             3.6.1 พิมพ์คําว่า รับคําสั่ง ......” โดยให้อยู่กึ่งกลางซึ่งกันและกันกับการพิมพ์ชื่อเต็ม(ชื่อ สกุล) และตําแหน่ง และเว้นบรรทัดการพิมพ์ ๑ บรรทัดปกติ และเพิ่มค่าก่อนหน้าอีก ๖ พอยท์  (1 Enter + Before 6 pt) จาก สั่ง ณ วันที่
                             3.6.2 พิมพ์ยศของผู้ลงชื่อ ให้พิมพ์อักษรตัวแรกอยู่ในแนวกึ่งกลางของตราครุฑ โดยให้เว้นบรรทัดการพิมพ์ ๒ บรรทัดปกติ และเพิ่มค่าก่อนหน้าอีก ๖ พอยท์ (2 Enter + Before 6pt) จากรับคําสั่ง ....


  
คําแนะนําประกอบการพิมพ์ระเบียบ และประกาศ

          1. การตั้งค่าในโปรแกรมการพิมพ์
                   1.1 การตั้งระยะขอบหน้ากระดาษ
                             - ขอบซ้าย ๓ เซนติเมตร ขอบขวา ๒ เซนติเมตร
                             - ขอบบน ๒.๕ เซนติเมตร ขอบล่างประมาณ ๒ เซนติเมตร
                   1.2 การตั้งระยะบรรทัด ให้ใช้คาระยะบรรทัดปกติ คือ ๑ เท่า หรือ Single
                   1.3 การกั้นค่าไม้บรรทัดระยะการพิมพ์ อยู่ระหว่าง ๐ – ๑๖ เซนติเมตร
          ๒. ขนาดตราครุฑ
                   2.1 ตราครุฑสูง ๓ เซนติเมตร
                   2.2 การวางตราครุฑ ให้วางห่างจากขอบกระดาษบนประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร (ชิดขอบบน)
          3. การพิมพ์
                   3.1 ใช้รูปแบบตัวพิมพ์ไทยสารบรรณ (ฟอนต์ TH Sarabun PSK) ขนาด ๑๖ พอยท์
                   3.2 การย่อหน้าข้อความ ให้มีระยะย่อหน้าตามค่าไม้บรรทัดระยะการพิมพ์ เท่ากับ                     ๒.๕เซนติเมตร
                   3.3 การพิมพ์ข้อความ ประกาศ ณ วันที่ เดือน พ.ศ. ....” ให้มีระยะย่อหน้าตามค่าไม้บรรทัดระยะการพิมพ์ เท่ากับ ๕ เซนติเมตร (เพิ่มระยะจากย่อหน้าข้อความ ๑ เท่า)
                   3.4 การพิมพ์ยศของผู้ลงชื่อ ให้พิมพ์อักษรตัวแรกอยู่ในแนวกึ่งกลางของตราครุฑ โดยให้เว้นบรรทัดการพิมพ์ ๒ บรรทัดปกติ และเพิ่มค่าก่อนหน้าอีก ๖ พอยท์ (2 Enter + Before 6 pt) จากประกาศ ณ วันที่
                   3.5 การพิมพ์ชื่อเต็ม (ชื่อ สกุล) และตําแหน่ง ให้อยู่กึ่งกลางซึ่งกันและกัน ในกรณีที่ต้องพิมพ์ตําแหน่ง ๒ บรรทัด ระหว่างบรรทัดให้ใช้ระยะ 1 Enter


ที่มา: http://kmadc.blogspot.com/2014/07/microsoft-office-word.html

ความรู้พื้นฐานการใช้โปรแกรม Microsoft Word 2007

ความรู้เบื้องต้นในการใช้โปรแกรม Microsoft Word

ที่
Microsoft Office Word 2007
            โปรแกรม นี้ใช้สำหรับพิมพ์งานเอกสารต่างๆ เช่น จดหมาย รายงาน หนังสือ วิทยานิพนธ์ และจัดรูปแบบให้ดูสวยงาม นอกจากนี้ยังสามารถสร้างงานพิมพ์แบบคอลัมน์ (คล้ายงานหนังสือพิมพ์) ได้ด้วย


    เนื้อหาที่จะได้ในโปรแกรมนี้
ที่มา: https://sites.google.com/site/exwordpointteach2/microsoft-word/01

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ (Computer properties)

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ (Computer properties)

     คอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติที่สำคัญ 5 ประการดังนี้

     1. การทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic machine)
การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ และเมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้วข้อมูลที่เป็ยสัญญาณไฟฟ้าจะ๓ุกแปลกกลับให้เป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้

     2. การทำงานด้วยความเร็วสูง (Speed)
เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการดำเนินงานต่าง ๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที)

     3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (Accuracy and Reliabillity)
คอมพิวเตอร์จะทำงานตามที่คำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้ ถ้าผู้ใข้ป้อนข้อมูลหรือชุดคำลั่งมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีควาทถูกต้องเชื่อถือได้

     4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (Storage)
หน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกไป ความสามารถในดการจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหมื่นล้านตัวอักษร

     5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (Communication)
คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องคิมพิวเตอร์อื่น ๆ และสามารถทำงานไ้หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ระบบเดียว เช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น

ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)

ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)

     ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ....
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
     ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น 


2. ซอฟต์แวร์ (Software)
      ซอฟต์แวร์ หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ


3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information)
     ข้อมูล/สารสนเทศ คือ ข้อมูลต่างๆ ที่นำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล คำนวน หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่ต้องการ


4. บุคลากร (Peopleware) 
     บุคลากร คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินงานต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตนเองได้


5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure)
     เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือสารสนเทศจากคอมพิวเตอร์ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน

วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ (Evolution of computers)

     1. จุดกำเนิดของคอมพิวเตอร์
          ต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์อาจกล่าวได้ว่ามาจากแนวความคิดของใระบบตัวเลขซึ่งได้พัฒนาเป็นวิธีการคำนวนต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ช่วยในการคำนวนอย่างง่าย ๆ "กระดานคำนวน" และ "ลูกคิด"
          ในศตวรรษที่ 17 เครื่องคำนวนแบบใช้เฟืองเครื่องแรกได้กำเนอดขึ้นจากนักคณิตศาสตร์ขาวฝรั่งเศส Blaise Pascal โดยเครื่องของเขาสามารถคำนวนการบวกการลบได้อย่างเที่ยงตรง และในศตวรรศเดียวกันนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน คือ Gottried Wilhelm von Leibniz ได้สร้างเครื่องคิดเลขเครื่องแรกที่สามารถคูณและหารได้ด้วย
          ในต่นศตวรรษที่ 19 ชาวฝรั่งเศสชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พัฒนาเครื่องทอผ้าที่สามารถโปรแกรมได้ โดยเครื่องทอผ้านี้ใช้บัตรขนาดใหญ่ ซึ่งได้เจาะรูไว้เพื่อควบคุมรูปแบบของลายที่จะปัก บัตรเจาะรู (punched card) ที่ jacquard ใช้นี้ได้ถูกพัฒนาต่อ มาโดยผู้อื่น เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลและโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ
          ต่อมาในศตวรรษเดียวกัน ชาวอังกฤษชื่อ Charles Babbage ได้ทำการสร้างเครื่องสำหรับเครื่องแก้สมการโดยใช้พลังงานไอน้ำ เรียกว่า difference engine และถัดจากนั้นได้เสนอทฤษฎีเดี่ยวกับ คอมพิวพิวเตอร์สมัยใหม่ เมื่อเขาได้ทำการออกแบบ เครื่องจักรสำหรับทำดารวิเคราะห์ (analytical engine) โดยใช้พลังงานจากไอน้ำ ซึ่งได้มีการออกแบบให้ใช้บัตรเจาะรูของ Jacquard ในการป้อนข้อมูล ทำให้อุปกรณ์ชิ้นนี้มีหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล และหน่วยเก็บข้อมูลสำรองครบตามรูปแบบของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ แต่โชคไม่ดีที่แม้ว่าแนวความคิดของเขาจะถูกต้อง แต่เทคโนโลยีในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเครื่องที่ใช้งานได้จริง Charles Babbage ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์คนแรก และผู้ร่วมงานของเขาคือ Augusta Ada Byron ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลก
          จากนั้นประมาณปี ค.ศ.  1886  Dr.Herman Hollerith ได้พัฒนาเครื่องจัดเรียงบัตรเจาะรูแบบ electromechanical ขึ้น ซึ่งทำงานโดยใช้พลังงานไฟฟ้าและสามารถทำการจัดเรียง (sort) และ คัดเลือก (select) ข้อมูลได้  ต่อมาในปี ค.ศ.  1896  Hollerith ได้ทำการก่อตั้งบริษัทสำหรับเครื่องจักรในการจัดเรียงชื่อ Tabulating Machine Company และในปี ค.ศ.  1911  Hollerith ได้ขยายกิจการโดยเข้าหุ้นกับบริษัทอื่น อีก 2 บริษัทจัดตั้งเป็นบริษัท Computing - Tabulating-Recording-Company ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และในปี ค.ศ.  1924 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น International Business Corporation หรือที่รู้จักกันต่อมาใขชื่อของบริษัท IBM
          ในปี ค.ศ.  1939  Dr.Howard H. Aiken จาก Harvard University ได้ร่วมมือกับบริษัท IBM ออกแบบคอมพิวเตอร์โดยใช้ทฤษฎีของ Babbage และในปี ค.ศ.  1944 Harvard mark I ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรก ซึ่งมีขนาดยาว 5 ฟุต ใช้พลังงานไฟฟ้าและใช้ relay แทนเฟืองแต่ยังทำงานได้ข้าคือใช้เวลาประมาณ 3-5 วินาทีสำหรับการคูณ
          การพัฒนาที่สำคัญกับ Mark I ได้เกิดขึ้นปี 1946 โดย Jonh Preper Eckert, Jr. และ Dr. Jonh W. Msuchly จาก University of Pennsylvnia ได้ออกแบบสร้างเครื่อง ENIAC (Electronic Numeric Inegator and Calcuator) ซึ่งทำงานได้เร็วอยู่หน่วยของหนึ่งส่วนล้านวินาที
          การพัฒนาที่สำคัญได้เกิดขึ้นมาอีก เมื่อ Jonh von Neumann ซึ่งเป็ยที่ปรึกษาของโครงการ ENIAC ได้เสนอแผนสำหรับคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่จะทำการเก็บโปรแกรมไว้ในหน่วยโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำที่เหมือนกับที่เก็บข้อมูล ซึ่งพัฒนาการนี้ทำให้สามารถเปลี่ยนวงจรของคอมพิวเตอร์ได้โดยอัตโนมัติแทนที่จะต้องทำการเปลี่ยนสวิตซ์ด้วยมือเหมือนช่วงก่อน นอกจากนี้ Dr.  Von Nemann ยังได้นำระบบเลขฐานสองมาใช้ในคอมพิวเตอร์ซึ่งหลักการต่างๆเหล่านี้ได้ทำให้เครื่อง IAS ที่สร้างโดย Dr. Von Nemann เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์เครื่องแรกขอฝโลก เป็นการเปิดศักราชขอใคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริงและยังได้เป็นบิดาคอมพิวเตอร์คนที่ 2


     2. ยุคของคอมพิวเตอร์
          เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถออกได้โดยแบ่งส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ (Hardware) เป็น 5 ยุคด้วยกัน

          - คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
            อยู่ระหว่างปี พ.ศ.  2488 ถึง พ.ศ.  2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศ ซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนได้ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อน เครื่อฝคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MAEK I), อีนิแอค (ENIAC), ยุนิแวค (UNIVAC)




          - คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
            คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 อยู่ระหว่างปี พ.ศ.  2502 ถึง พ.ศ.  2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์โดยมีแกรเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน (fortran), ภาษาโคบอล (cobol) เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน




          - คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
            คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 อยู่ระหว่างปี พ.ศ.  2507 ถึง พ.ศ.  2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit  :  IC) โดยวงจรแต่ละหัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงาน หลาย ๆ อย่าง




          - คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
            คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 ตั้งแต่ปี พ.ศ.  2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคขอใคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรความจุสูงมาก (Very Large Scale Integration  : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง สามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าให้ไปในที่ต่าง ๆ ได้ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการทำงานอย่างกว้างขวาง




          - คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
            คอมพิวเตอร์นุคที่ 5 เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดีขึ้นโดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใข้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligsnce : AI) ประเภทต่าง ๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรบกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาด้านนี้กันอย่างจริงจัง